วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

การบริหารสำนักงานในอนาคต


สำนักงานในอนาคต
ไม่ว่าลักษณะขององค์การ หรือสำนักงานในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็ตามผู้บริหารควรพิจารณาประเด็นสำคัญดังนี้
1. การเตรียมตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง การปรับปรุงระบบเพื่อคุณภาพ เพื่อผลิตภาพ หรือการปรับปรุงขนาดใหญ่ แบบรีเอ็นจิเนียริ่งสิ่งที่ควรให้ความสนใจ คือ
1.1 มีการสั่งการและยอมรับจากผู้บริหารระดับสูง
1.2 มีการกำหนดขอบเขตการเปลี่ยนแปลง
1.3 กำหนดมาตรฐานในการวัดผล
1.4 เข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เปลี่ยนแปลงได้
1.5 กำจัดความกลัวและลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด
1.6 เน้นในประเด็นที่มีคุณค่า มากกว่าผลการปฏิบัติงาน
2. สร้างองค์การใหม่ โดยกำหนดเป้าหมายการสร้างวงจร บริการ กำไร ซึ่งจก่อให้เกิดความพอใจต่อลูกค้าและพนักงานในสำนักงาน โดยมีปัจจัยสำคัญ คือ
2.1 ปฏิบัติเหมือนเป็นบริษัทเล็กๆ
2.2 สร้างและกระตุ้นนวัตกรรม
2.3 ให้ผู้บริหารสำนักงานในอนาคตพัฒนาองค์การใหม่ให้มากที่สุด
2.4 สร้างวัฒนธรรมองค์การ ที่มีพลัง และเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาสำนักงานในอนาคต
2.5 นำบทเรียนในอดีต มากระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่าง
3. ออกแบบองค์การในทางปฏิบัติ ใช้การออกแบบและพัฒนาปรับปรุงมาช่วย ควรพิจารณาถึงการแข่งขันใหม่ๆ ในโลกแบบใหม่ และปรับตัวในทางปฏิบัติโดย
3.1 ยอมรับจุดประสงค์ และเป้าหมายที่ต้องสูงขึ้นและเพิ่มขึ้น
3.2 ยังคงมีความรับผิดชอบ และความเป็นผู้นำสูงในองค์การใหม่
3.3 กระตุ้นให้เกิดการสร้างทีม แบบหลากหลาย เพื่อรับวัฒนธรรมและความแตกต่าง
3.4 หาผู้ร่วมประกอบการ
3.5 ส่งเสริมระบบเครือข่ายทางความรู้
3.6 มีหลักการสำคัญในการเป็นองค์การอนาคต
3.7 พร้อมรับมือและเตรียมตัวพบ หรือเข้าถึงการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน

การทำงานและการจัดองค์การ

1. การทำงานและสื่อสารด้วยระบบเครือข่าย
2. จัดโครงสร้างและการทำงานใหม่ โดยคำนึงถึง
2.1 โครงสร้างอำนาจหรือพลัง
2.2 โครงสร้างทางการเงิน
2.3 ความเชื่อมโยงทางการศึกษา
2.4 อัตราผลตอบแทนและความเสมอภาค
2.5 แผนการเกษียณอายุการทำงาน
3. สร้างภาวะการเป็นผู้นำ
4. จัดการติดต่อสื่อสารด้วยระบบที่มีประสิทธิผล
5. จัดขอบเขตองค์การใหม่
6. สร้างการเรียนรู้ในองค์การให้มีความรวดเร็วและประสิทธิภาพสูงขึ้น

การบริหารทรัพยากรมนุษย์
1. การลงทุนครั้งใหม่
2. ใช้เครื่องมือการจูงใจใหม่
3. มีการพัฒนาและธรรม์รงค์รักษาอย่างดีที่สุด
4. สร้างความสำเร็จทีมนุษย์มุ่งหวังให้เกิดขึ้น
4.1 ความนับถือ
4.2 ความรับผิดชอบ
4.3 ความยอมรับในความเสี่ยง
4.4 รางวัลและการรับรู้
4.5 ความสัมพันธ์
4.6 บทบาท
4.7 การปรับใหม่
5. สร้างสถานการณ์ความเป็นผู้นำในสำนักงานมีหลากหลายรูปแบบ
6. มีการเรียนเพื่อพัฒนาตนเอง ต้องเป็นผู้นำไม่ใช่ผู้ตาม

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551


การรื้อปรับระบบ (Reengineering the Business Process)

สภาพแวดล้อมของการจัดการ โดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งด้านปริมาณ คุณภาพ และอัตราเร่งของความเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีอิทธิพลหรือผลกระทบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การ เป็นประเด็นที่นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความสนใจและพิจารณาถึงนับแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มาแล้ว [1]
- เฟ-ลิกซ์ เอ. ไนโกร และ ลอยด์ จี. ไนโกร (Fellix A. Nigro and Lloyd G. Nigro) ให้ความหมายของ สภาพแวดล้อมของการจัดการไว้ว่า หมายถึง สรรพสิ่งทางกายภาพและสังคม ซึ่งอยู่ล้อมรอบองค์การและมีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมการบริหาร และได้รับอิทธิพลจากพฤติกรรมการบริหารด้วยในทางกลับกัน
- เอ็ดการ์ เอฟ. ฮิวส์ และ เจมส์ แอล. โบวดิตช์ (Edgar F. Huse and James L. Bowditch) ให้คำจำกัดความของ สภาพแวดล้อมของการจัดการว่า หมายถึงคนและสภาพการณ์หรือเงื่อนไขที่อยู่ภายนอกองค์การที่มีผลกระทบ พร้อม ๆ กับที่ได้รับผลกระทบจากองค์การ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า หมายถึง ปัจจัยทั้งหมดที่อยู่ภายนอกองค์การ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นสภาพแวดล้อมของการจัดการ ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่หมายถึงบุคคล สภาพพื้นที่และเวลาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ความรู้สึกนึกคิดของคนด้วย
- เฮอร์เบอร์ต จี. ฮิกส์ ( Herbert G. Hicks) ให้ความหมายว่า หมายถึง ผลรวมของปัจจัยต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ องค์การ เช่น สงครามและสันติภาพ วัฒนธรรม จริยธรรม ทัศนคติทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศของประเทศพันธมิตร รูปแบบทางด้านจารีตประเพณีและวัฒนธรรม สภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ สหภาพแรงงาน ทัศนคติของลูกค้า และผลประโยชน์ของกลุ่มผู้บริโภค ผู้ถือหุ้น และประชาชนโดยทั่วไป
- วอเรน บี. บราวน์ และ เดนนิส เจ. โมเบอร์ก ( Warren B. Brown and Dennis Moberg) ให้ความหมายของสภาพแวดล้อมของการจัดการว่า หมายถึง สิ่งของ บุคคล และองค์การอื่น ๆ ที่อยู่รอบ ๆ องค์การเป้าหมาย ทั้งนี้ รวมทั้งแหล่งที่องค์การต้องอาศัยวัตถุดิบ ตลอดจนตลาดที่จำหน่ายสินค้าและให้บริการด้วย
- ลินตัน เค. คอลด์เวลส์ (Lynton K. Caldwell) ให้คำนิยามว่า หมายถึง แหล่งรวมของปัจจัยทางชีววิทยา กายภาพ จิตวิทยา และสังคม ซึ่งมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับคนและสังคม
- ปีเตอร์ บาร์เทลมัส (Peter Bartelmus) ให้ความหมายของสภาพแวดล้อมของการจัดการไว้สั้น ๆ ว่า หมายถึง สภาพและอิทธิพลภายนอกที่มีผลกระทบต่อชีวิตและพัฒนาการของสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตาม ติณ ปรัชญพฤทธิ์ เห็นว่า การพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมของการจัดการ น่าจะหมายรวมถึงสภาพแวดล้อมของการจัดการทั้งภายนอกประเทศและภายในประเทศ รวมทั้งสภาพแวดล้อมภายในองค์การด้วย เพราะสภาพแวดล้อมภายในองค์การอาจมีอิทธิพลหรือผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนในองค์การมากกว่าสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การเสียอีก ทั้งนี้ สภาพแวดล้อมของการจัดการภายในองค์การ อาจหมายรวมถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในองค์การ ทั้งในแง่เวลาและสถานที่ คุณภาพชีวิตการทำงาน บรรยากาศการจัดการ และสถานการณ์ขององค์การหรือระบบราชการ เป็นต้น
การรีเอ็นจิเนียริ่งกระบวนการทางธุรกิจเป็นแนวคิดทางธุรกิจในทศวรรษที่ 1990 แต่ในทางปฏิบัติจริงก็ยังไม่ได้เป็นอะไรที่มากไปกว่าแนวคิดของการพัฒนาคุณภาพทั่วทั้งองค์การ หรือ Total Quality Management (TQM) ซึ่งมุ่งเน้นที่กระบวนการ[2]Reengineering หรือ การรื้อปรับระบบ เป็นคำที่ ไมเคิล แฮมเมอร์ และเจมส์ แชมปี้ ริเริ่มใช้ในหนังสือชื่อ Reengineering the Corporation ในฐานะที่เป็นคำประกาศการปฏิวัติธุรกิจ หรือ A Manifesto for Business Revolution เมื่อปี 1993 ก่อนที่จะเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดที่จัดโดย นิวยอร์ก ไทม์ และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศกว่า 14 ภาษา ทำให้เป็นคำที่มีการกล่าวขานถึงอย่างกว้างขวาง
ในคำอารัมภบทของหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนทั้งสองได้ชี้ให้เห็นว่า ทฤษฎีทางการบริหารหลายประการที่ ยึดถือกันมากว่าสองศตวรรษเป็นสิ่งที่กำหนดโครงสร้าง การจัดการ และผลการปฏิบัติงานของธุรกิจในสหรัฐอเมริกาตลอดช่วงศตวรรษที่สิบเก้าและยี่สิบ.. .. ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร และผู้จัดการอเมริกันได้สร้างสรรค์และประกอบธุรกิจที่สามารถเผชิญกับความต้องการสินค้ามวลชนและสินค้าบริการที่ขยายตัวมหาศาลมากว่าหนึ่งร้อยปี ผู้จัดการและบริษัทต่าง ๆ ในอเมริกาได้เป็นตัวกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานให้กับธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลก แต่น่าเสียดายเหลือเกินที่ปัจจุบันนี้ สิ่งที่กล่าวข้างต้นนั้นกลับไม่เป็นความจริงเสียแล้ว... .. ผู้จัดการของอเมริกันจะต้องสลัดแนวคิดดั้งเดิมในการจัดองค์การและดำเนินธุรกิจของตนทิ้งไป เพื่อการปฏิรูปบริษัทใหม่ เขาจะต้องละทิ้งหลักการและวิธีการต่าง ๆ ที่กำลังใช้อยู่ แล้วสร้างหลักการและวิธีการขึ้นมาใหม่ทั้งหมด... ...องค์กรใหม่จะผิดแผกไปจากบริษัทในปัจจุบัน แนวทางในการจัดซื้อ ทำยอดขาย และจัดส่งผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการให้บริการต่าง ๆจะต่างจากปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยจะกลายสภาพเป็นบริษัทที่ได้ออกแบบเพื่อปฏิบัติการในโลกปัจจุบันและอนาคตโดยเฉพาะ มิใช่หน่วยงานซึ่งหลงเหลือมาจากยุคดั้งเดิมอันรุ่งโรจน์แต่ล้าสมัยไปเสียแล้ว.. ตามคำอารัมภบทดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การรื้อปรับระบบ เป็นแนวคิด หลักการ และแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับอิทธิพลหรือผลกระทบของระบบนิเวศ หรือสภาพแวดล้อมของการจัดการที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้องค์การจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาระบบการบริหารจัดการ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมด้านต่าง ๆ ของการจัดการที่เปลี่ยนแปลงไป ดังกล่าวข้างต้น
แนวคิดเกี่ยวกับพลังผลักดันที่มีผลกระทบต่อการจัดการ
ผู้เขียนทั้งสองชี้ให้เห็นว่า สัจจธรรมที่องค์กรต้องเผชิญคือ วิธีการทำธุรกิจแบบเก่า โดยการแบ่งสรรแรงงานตามความถนัด ตามหลักการของ อดัม สมิธ ใช้การไม่ได้อีกต่อไปแล้ว โลกได้กลับกลายเป็นสถานที่ซึ่งผิดแผกไปจากเดิม เราไม่สามารถยึดหลักการว่า วงจรธุรกิจจะหมุนสู่ความเจริญรุ่งเรือง ติดตามด้วยการตกต่ำ แล้วกลับเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่งอย่างที่เคยได้พบพานอีกต่อไป ไม่มีอะไรที่จะคงที่หรือพยากรณ์ได้อย่างแน่นอนภายใต้สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการขยายตัวของตลาด ความต้องการของลูกค้า วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ อัตราการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี หรือแม้แต่ลักษณะของการแข่งขันทางธุรกิจ โลกของ อดัม สมิธ และวิธีการทำธุรกิจในรูปแบบของเขาได้กลายเป็นวิถีทางแห่งอดีตไปเสียแล้ว ในทางตรงข้าม มีพลัง 3 รูปแบบ ทั้งในลักษณะที่แยกจากกันและประสานร่วมกัน เป็นพลังสำคัญที่ผลักดันให้บริษัทหรือองค์การต่าง ๆ ก้าวลึกเข้าสู่อาณาจักรอันแปลกใหม่และน่าประหวั่นพรั่นพรึงสำหรับผู้บริหารหรือผู้จัดการส่วนมาก พลังทั้งสามดังกล่าว หรือที่ผู้เขียนเรียกว่าพลัง 3 C ได้แก่ ลูกค้า (Customer) การแข่งขัน (Competition) และการเปลี่ยนแปลง (Change)- ลูกค้า (Customer) นับแต่ต้นศตวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งประเทศอื่น ๆ ที่พัฒนาแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตหรือขายกับลูกค้าได้เปลี่ยนแปลงไป ลูกค้าเปลี่ยนแปลงจากการเป็น ลุกค้าทั่วไป ที่ต้องซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากผู้ผลิต ผู้ขายหรือผู้ให้บริการเพียงไม่กี่รายเป็นผู้จัดเตรียมไว้ให้สำหรับ ตลาดมวลชน มาเป็น ลูกค้าเฉพาะราย ที่เป็นผู้ระบุกับผู้ผลิตหรือผู้ขายว่า ตนต้องการสินค้าอะไร แบบไหน เมื่อไร อย่างไร และจะยินยอมจ่ายให้ในราคาเท่าไร ตามรสนิยม เงื่อนไข และความต้องการของตนเอง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในรูปแบบของฐานข้อมูลที่ชัดเจนและค้นหาได้ง่าย ทำให้ผู้ผลิต ผู้ค้า หรือผู้ให้บริการทุกประเภท สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งความต้องการ รสนิยม และความพึงพอใจของลูกค้าเหล่านั้น เท่า ๆ กับที่ลูกค้าหรือผู้บริโภคสามารถหยิบหนังสือพิมพ์รายวันขึ้นมาเปรียบเทียบ รายงานผู้บริโภคสำหรับสินค้าต่าง ๆ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร หรือผลตอบแทนจากการเลือกซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารการเงินต่าง ๆ บริษัทหรือองค์การต่าง ๆ จำเป็นต้องเปลี่ยนความนึกคิดเกี่ยวกับลูกค้าที่เป็น ตลาดมวลชน มาเป็น ลุกค้าแต่ละคนที่มีความหมาย เพราะสถานการณ์ในช่วงสามสิบปีภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สินค้าอุปโภคและบริโภคอยู่ในสภาพขาดแคลนเป็นช่วง ๆ ได้สิ้นสุดไปแล้ว ในทางตรงข้าม มีผู้ผลิตจำนวนมากเกิดขึ้นทั่วทั้งโลกเพื่อสนองตอบความต้องการ ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว กลับมีอัตราเพิ่มของประชากรที่ลดลง ตลาดของผลิตภัณฑ์หลายชนิดได้เข้าสู่สภาวะอิ่มตัว สินค้าต่าง ๆ ที่ผลิตสินค้าต่างอยู่ในช่วงของการผลิตสินค้าใหม่เพื่อทดแทนสิ่งที่ลูกค้ามีอยู่แล้ว ไม่ใช่การผลิตเพื่อตอบสนองความขาดแคลนหรือความต้องการดังเช่นที่ผ่านมาอีกต่อไป ลูกค้าหรือผู้บริโภคจึงกลายมาเป็นผู้ที่เหนือกว่าผู้ผลิตหรือผู้ขาย หรืออยู่ในความสัมพันธ์ที่ ลูกค้าเป็นผู้ชี้ขาด- การแข่งขัน (Competition) ในอดีตที่ผ่านมา การแข่งขันยังไม่รุนแรงมากนัก ธุรกิจที่สามารถเข้าถึงตลาดโดยมีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พอใช้ได้ และกำหนดราคาที่ดีที่สุดก็สามารถจะขายได้ แต่ในปัจจุบัน นอกจากจะมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นและรุนแรงขึ้นแล้ว ยังมีรูปแบบของการแข่งขันมากมายหลากหลายรูปแบบด้วย

เริ่มจากการมีคู่แข่งที่มุ่งเจาะตลาดเฉพาะ หรือ Niche Market ทำให้แทบทุกตลาดต้องเปลี่ยนโฉมหน้าการแข่งขันในตลาดไปหมด สินค้าประเภทเดียวกันที่ถูกวางในตลาดที่ต่างกัน ต้องใช้ฐานการแข่งขันทางการตลาดที่แตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ ในตลาดหนึ่งอาจเป็นการแข่งขันที่ต่อสู้กันด้านราคา ในขณะที่อีกตลาดหนึ่งเป็นการแข่งขันที่ต่อสู้กันด้วยรูปลักษณ์ของสินค้าที่แตกต่างกัน ในอีกตลาดหนึ่งเป็นการแข่งขันที่ต่อสู้กันด้วยคุณภาพ และในอีกตลาดหนึ่งเป็นการแข่งขันที่ต่อสู้ด้วยการให้บริการ ทั้งการจัดให้มีการบริการก่อนการขาย ระหว่างการขาย และการบริการหลังการขาย เป็นต้น ในสภาวการณ์ปัจจุบัน กำแพงกีดกันทางการค้าได้ถูกทำลายลง จึงไม่มีสนามการค้าหรือตลาดภายในประเทศของธุรกิจหรือองค์กรใดที่รอดพ้นจากการบุกรุกของคู่แข่งจากต่างชาติอีกต่อไป การแข่งขันในลักษณะดังกล่าวทำให้ธุรกิจหรือบริษัทที่สามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยมเพียงรายเดียวเท่านั้นที่สามารถยกระดับของเกณฑ์การแข่งขันในตลาดให้สูงขึ้น และกลายเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการแข่งขันของธุรกิจหรือบริษัทอื่น ๆ ทั่วโลก ผู้ที่ทำได้ดีกว่าจะขับไล่ผู้ที่ด้อยกว่าออกจากสนามแข่งขัน เพราะราคาที่ต่ำที่สุด คุณภาพดีที่สุด และการให้บริการที่ดีที่สุดรายใดรายหนึ่ง จะกลายเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการแข่งขันสำหรับคู่แข่งทุกรายในเวลาอันรวดเร็ว การทำงานเพียงแค่พอใช้ได้ไม่เพียงพอและไม่สามารถยืนหยัดในสนามแข่งขันได้อีกต่อไป หากธุรกิจหรือบริษัทใดไม่สามารถยืนหยัดอย่างเตียงบ่าเคียงไหล่กับบริษัทชั้นสุดยอดในการแข่งขันนั้นได้ ย่อมไม่สามารถดำรงอยู่ในการแข่งขันนั้นได้ในและไม่สามารถคงอยู่อีกต่อไปได้ในไม่ช้า- การเปลี่ยนแปลง (Change) ในทัศนะของ แฮมเมอร์ และ แชมปี้ นอกจากลูกค้าและการแข่งขันจะเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปจากช่วงเวลาเมื่อก่อนหน้านี้แล้ว แม้แต่ การเปลี่ยนแปลงเองก็มีลักษณะที่แตกต่างไปจากการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบเดิม กล่าวคือ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่แทรกซึมอยู่ในทุกส่วนของการตลาดและมีลักษณะที่กระทบกันอย่างต่อเนื่องกันไป จนกลายเป็นสิ่งธรรมดาและเป็นสัจจธรรม มีความเร่งสูงขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของเทคโนโลยีที่เป็นตัวหนุนเสริมให้เกิดนวัตกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากความคาดหมาย ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างไปจากเดิมดังกล่าว เป็นผลให้ธุรกิจ บริษัท หรือองค์การต่าง ๆ จำเป็นต้องสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือการบริการใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น ต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งจำนวนมหาศาล โดยคู่แข่งแต่ละรายสามารถนำเสนอนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือการบริการใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดเมื่อใดก็ได้ และเป็นผลให้วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ หดสั้นลง เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ รูปแบบการประกันชีวิต ธุรกิจบริการจัดการเงินบำนาญ ฯลฯ เป็นผลให้การพัฒนาและการนำผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ออกสู่ตลาดพลอยหดสั้นลงไปด้วยเป็นเงาตามตัว ธุรกิจต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องเคลื่อนไหวอย่างฉับไวอยู่ตลอดเวลา หรือมิฉะนั้นก็ต้องอยู่อย่างแน่นิ่งและหยุดอยู่กับที่ไปเลย
พลังทั้งสามดังกล่าวข้างต้นก่อให้เกิดโลกใหม่ของธุรกิจ พร้อม ๆ กับที่สะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า องค์การที่ได้รับการออกแบบไว้อย่างเหมาะสมสำหรับสภาพแวดล้อมหนึ่งจะไม่สามารถใช้งานได้อย่างดีและเหมาะสมภายใต้สภาพแวดล้อมอีกแบบหนึ่ง ดังนั้น ธุรกิจหรือองค์การที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการผลิตในปริมาณมาก ๆ เพื่อเสถียรภาพและความเจริญเติบโตภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่ง จะไม่สามารถดำรงอยู่หรือปรับแก้ให้ยังคงประสบผลสำเร็จได้อีก ในสภาพแวดล้อมที่ผู้บริโภคหรือลูกค้า การแข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังผลักดันให้ธุรกิจหรือองค์การนั้นต้องการความยืดหยุ่นและการตอบสนองอย่างรวดเร็ว




รีเอ็นจิเนียริ่งภาครัฐ ต้องการผู้นำที่ดีและนั่งเก้าอี้นาน


ความล่าช้าและล้าหลังของระบบราชการที่ไม่สามารถตามทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังเข้าสู่ยุคการค้าไร้พรมแดน และยุคข้อมูลข่าวสารได้กลายเป็นอุปสรรคที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม และนับวันก็ยิ่งจะเป็นปัญหาที่สร้างความหนักใจให้กับหลาย ๆ ฝ่าย
รีเอ็นจิเนียริ่ง หรือการปรับโครงสร้างองค์กรเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถผ่อนคลายปัญหานี้ให้เบาบางลงได้ ซึ่งที่ผ่านมาในประเทศไทย บริษัทเอกชนหลายแห่งได้ดำเนินการไปแล้ว และที่ฮือฮาที่สุดก็เห็นจะเป็น บมจ.ธนาคารกสิกรไทย
"หลายคนมักจะถามว่า การรีเอ็นจิเนียริ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับภาครัฐได้หรือไม่?" ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ปลัดกระทรวงการคลัง จุดประเด็นทางความคิดก่อนที่จะอรรถาธิบายถึงรายละเอียดในความพยายามของภาครัฐที่จะพัฒนา และปรับปรุงตัวเองให้ทันกับกระแสของโลก ในฐานะวิทยากรที่ได้รับเชิญเป็นองค์ปาฐกหัวข้อ Re-engineering for Competitiveness ในงานสัมมนาประจำปีเรื่อง "The Competitiveness of The Asian Emerging Economies" ที่จัดขึ้นโดยบริษัทไทย เรทติ้ง แอนด์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด และสมาคมจัดอันดับเครดิตอาเซียน (อาฟครา) เมื่อปลายเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา
ม.ร.ว.จัตุมงคล อธิบายว่า ที่จริงแล้วในเนื้อหาของคำว่า รีเอ็นจิเนียริ่ง ก็คือ การทำให้ดีขึ้นในวิถีทางที่ดีกว่า เร็วกว่า หรือถูกกว่า หรือถูกใจลูกค้ามากขึ้น ในภาคเอกชน กำไรเป็นเสมือนหนึ่งเป้าประสงค์หลักในการรีเอ็นจิเนียริ่ง แต่วิธีการในการรีเอ็นจิเนียริ่ง มิใช่เทคโนโลยีและระบปฏิบัติการ (Operating System) แต่อย่างใด ซึ่งแตกต่างจากการทำรีเอ็นจิเนียริ่งภาครัฐ
การที่จะรีเอ็นจิเนียริ่งภาครัฐของไทย กำไรมิใช่สิ่งจูงใจที่จะก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนองค์กร เพราะรัฐบาลไทยเองไม่เคยเข้าไปสัมผัสกับระบบบัญชีกำไรขาดทุนเหมือนกับรัฐบาลในประเทศอื่น ๆ บางประเทศ
"แต่หากสมมติฐานว่า รัฐบาลต้องการให้บริการที่ดีขึ้นแก่ประชาชนของตนเอง การรีเอ็นจิเนียริ่งก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการรีเอ็นจิเนียริ่งจะเข้าไปปรับปรุง และแก้ไขระบบการทำงานของรัฐบาล ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ แม้ว่าจะไร้ประสิทธิภาพก็ตาม ในยุคสมัยใหม่เช่นปัจจุบันนี้ การรีเอ็นจิเนียริ่งจำเป็นต้องพึ่งพาความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อ generate ข้อมูลและลดกระบวนการทำงานให้สั้นลง ซึ่งจะต้องได้คนที่มีการฝึกฝนที่ดีกว่า มีการศึกษาดีกว่า ฉลาดมากกว่าเข้ามาใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ และดำเนินการให้มีความรวดเร็วทันใจมากขึ้น หากรัฐบาลไม่ใช้ยุทธวิธีแบบนี้ก็ไม่สามารถทำงานในยุคใหม่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของเมืองไทยคนหนึ่ง เกริ่นถึงความจำเป็นในการรีเอ็นจิเนียริ่งระบบราชการไทย
ในระบบประชาธิปไตย รัฐบาลจะต้องมาจากการเลือกตั้ง ดังนั้นต้องอย่าลืมว่า โดยเนื้อแท้แล้ว สิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญเหนืออื่นใดก็คือ ชนะการเลือกตั้ง ในขณะที่ผู้เลือกตั้งต้องการผู้ที่มีความสามารถที่จะเข้ามาบริหารประเทศ และการที่เศรษฐกิจจะดำเนินไปได้ด้วยดี นโยบายโดยรวมจะต้องมีความถูกต้อง และองค์ประกอบต่าง ๆ ก็จะต้องมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน
สำหรับระบบเศรษฐกิจไทย ในแง่โครงสร้างด้านกฎหมาย เป็นประเด็นหนึ่งที่น่าห่วงไม่น้อย ในขณะที่ระบบโครงสร้างข้าราชการพลเรือนของไทยยังมีวิธีปฏิบัติแบบเก่า ๆ อยู่ ซึ่งในอดีตวิธีปฏิบัติแบบโบราณนี้ เคยใช้ได้ผลมาไม่น้อยทีเดียว ซึ่งความสำเร็จเหล่านั้นได้ทำให้ไทยมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคหลายอย่าง คือ ไม่มีปัญหาทางศาสนา สังคม และเชื้อชาติ แต่ในยุคปัจจัยความสำเร็จเหล่านั้นได้มาเป็นความจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะในหลายประเทศ สามารถแก้ไขปัญหาความตึงเครียดทางเชื้อชาติ และการเผชิญหน้าทางศาสนาลงไปได้ หรือแม้แต่ประเทศสังคมนิยม ปัจจุบันก็เปลี่ยนตัวเองหันมาใช้ลัทธิทุนนิยม หรือตลาดเสรีในรูปแบบต่าง ๆ
"ดังนั้น เราจึงไม่ใช่สาวสวยคนเดียวที่นักลงทุนทุกคนจะหันมาสนใจอีกต่อไป"
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และพยายามที่จะนำนโยบายการรีเอ็นจิเนียริ่งเพื่อการแข่งขันมาใช้ปฏิบัติ แต่การรีเอ็นจิเนียริ่งประเทศ เพื่อการแข่งขันเป็นเรื่องที่ยากเย็นมาก หากเทียบกับการรีเอ็นจิเนียริ่งบริษัทเอกชน เพราะบริษัทมีเจ้าของที่ดูแลรับผิดชอบอย่างแท้จริง ขณะที่ประเทศไม่ได้เป็นเช่นนั้น
"สำหรับประเทศไม่มีใครเป็นผู้รับผิดชอบจริง ๆ มีเพียงผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา หากเขาผู้นั้นไม่มีประสิทธิภาพมันก็เป็นเรื่องยากมาก ๆ ที่จะโยกย้ายเขาออกไปจากตำแหน่ง หรือถ้าจะเป็นพลเรือนที่ได้รับการแต่งตั้งก็ยากพอ ๆ กันที่จะให้เขาออกจากตำแหน่ง หรือโน้มน้าวให้ทำสิ่งใหม่ ๆ แต่เมื่อหากเหตุการณ์เกิดเลวร้ายขึ้นมาจริง ๆ จลาจลจึงเป็นเหตุการณ์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และหากมองลงไปในรัฐธรรมนูญของไทยก็บัญญัติขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาในท้องถิ่นเท่านั้น ดังนั้น เราจึงไม่เคยเห็นพรรคใหญ่ ๆ ที่หาเสียงด้วยปัญหาของชาติชนะการเลือกตั้งเลย" ปลัดกระทรวงการคลัง ย้ำถึงความยุ่งยากที่ทำให้การรีเอ็นจิเนียริ่งภาครัฐทำได้ไม่ง่ายนัก
ในการรีเอ็นจิเนียริ่งประเทศจำเป็นต้องทำอย่างนุ่มนวลและด้วยวิธีที่กินเวลาน้อย และไม่ทำทุกอย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงการคลังเองก็ได้เริ่มดำเนินการด้วยกานำรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในความควบคุม 70 แห่ง เข้าสู่ระบบการประเมินผลการดำเนินงานกับบริษัท ไทยเรทติ้ง อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส (ทริส) ในฐานะที่ปรึกษา ทั้งนี้ เพราะรัฐวิสาหกิจทั้ง 70 แห่งมีผลต่ออัตราการเติบโตของผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (จีเอ็นพี) ประมาณ 6-7% โดยได้เริ่มต้นทำมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 ปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจจำนวน 25 แห่งที่อยู่ภายใต้การติดตามผล และประเมินผลของทริส วิธีนี้ จะป็นการผูกมัดให้รัฐวิสาหกิจดำเนินกิจการตาม Industrial Norm หรือดำเนินงานให้ดีขึ้นในแต่ละปี เพราะจะมีผลต่อระบบการจ่ายโบนัสโดยตรง ซึ่งนั่นก็หมายความว่ารัฐวิสาหกิจจะต้องมีการรีเอ็นจิเนียริ่งตัวเองเพื่อให้แข่งขันกับภาคเอกชนและเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ในความเห็นของ ม.ร.ว.จัตุมงคล มองว่า วิธีนี้เป็นเรื่องที่ไม่ปกตินัก เพราะตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้รัฐวิสาหกิจไม่เพียงต้องทำเงินให้ได้เพียงพออย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องตอบสนองความต้องการของรัฐบาลหรือสังคมด้วย หากทำได้ตามนั้นก็จะได้รับรางวัลเป็นการตอบแทน ทว่า ความต้องการนั้นต้องมีความโปร่งใส พนักงานของหน่วยและประชาชนในประเทศจะต้องมีความเข้าใจด้วย
การสร้างศักยภาพด้านการแข่งขันให้แก่รัฐวิสาหกิจเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะรัฐวิสาหกิจไม่มีเจ้าของ ยกเว้นเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องนำมาให้ระบบบัญชีกำไรขาดทุนมาใช้อย่างหลอก ๆ เพื่อเป็นรางวัล หรือแรงจูงใจให้พนักงานทำงานเสมือนหนึ่งว่า หน่วยงานนั้นพวกเขามีส่วนเป็นเจ้าของ ในทางเดียวกัน การที่จะทำให้รัฐบาลมีความสามารถในการแข่งขันก็เป็นเรื่องที่ยาก เพราะรัฐบาลไทยไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้ระบบบัญชีกำไรขาดทุน จะมีก็แต่เพียงบัญชีเงินสดเท่านั้น
"การรีเอ็นจิเนียริ่งระบข้าราชการพลเรือนทั้งหมด เพื่อไปสู่การปฏิบัติงานที่ดีจำเป็นที่จะต้องมีผู้นำที่ดีและอยู่ในตำแหน่งเป็นเวลานาน ซึ่งยังไม่มีท่าว่าจะเกิดขึ้นในเมืองไทยเลย อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนได้พยายามที่จะจัดการกับปัญหานี้ด้วยการทำงานในรูปของคณะกรรมาธิการหรือกลุ่มทำงาน เพื่อลดแรงเสียดสีจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ผู้นำและคนที่มีความเป็นผู้นำไม่ว่าจะข้างในหรือภายนอกเพื่อเข้ามาสนับสนุนการทำงานยังมีความจำเป็นอย่างมากทีเดียว"
นอกเหนือจากการปรับปรุงประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจ ทางกระทรวงการคลังก็พยายามที่จะแสวงหาแนวทางอื่น เพื่อนำมาใช้ในการรีเอ็นจิเนียริ่งประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ซึ่งวิธีนี้ ทางกระทรวงการคลังได้เริ่มต้นทดลองเป็นตัวอย่างในกระทรวงเองในฐานะข้าราชการพลเรือน
"เราตัดสินใจที่จะรีเอ็นจิเนียริ่งตัวเอง โดยมีการบริหารงานด้วยคณะกรรมการบริหาร ทว่าปฏิบัติการนี้ ยังไม่ได้เดินหน้าไปมากนัก เพราะยังอยู่ในช่วงของการเตรียมข้อมูล ให้เพียงพอการวิเคราะห์ ความพร้อมในด้านจิตใจของคนของเรา ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นมากมิฉะนั้นความพยายามนี้อาจจะต้องล้มเหลวลงก่อนที่จะเริ่มต้นเสียด้วยซ้ำ เราได้มีการตั้งกลุ่มคนรุ่นหนุ่มในกระทรวงขึ้นมาเพื่อประเมินถึงเรื่องการประหยัดต้นทุน และการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานที่จำเป็นภายในกระทรวงเพื่อนำพากระทรวงไปสู่โลกไร้พรมแดนมากขึ้นในอีก 20 ปีที่จะถึงนี้ แทนที่เราจะมีหน่วยงานต่าง ๆ มากมายในกระทรวงเราก็ได้เปลี่ยนมาให้เหลือเพียง 2 ส่วนเท่านั้น คือ ด้านการจัดเก็บภาษีและการคลัง โดยผู้จ่ายภาษีสามารถจ่ายภาษีทุกประเภทได้ในสำนักงานเดียวกัน เพราะเจ้าหน้าที่จะทำงานบนเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถทำธุรกรรมทุกชนิดกับกระทรวงได้นอกจากนี้อาจจะมีหน่วยงานด้านคอมพิวเตอร์ และบุคคลด้วยแต่ก็จะต้องขึ้นกับองค์กรเดียวกันทั้งหมด"
ขณะเดียวกัน ทางกระทรวงการคลังยังได้มีการว่าจ้างกลุ่มอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมาทำชาร์ตสถานการณ์โลกในอีก 20 ปี และบทบาทของกระทรวงการคลังที่จะต้องเป็นไปในสถานการณ์เช่นนั้น พร้อมทั้งได้ขอความช่วยเหลือจากธนาคารโลก ซึ่งก็ได้ส่งแกรแฮม สก็อตต์ (Graham Scott) อดีตปลัดกระทรวงการคลังนิวซีแลนด์ ที่ดำรงตำแหน่งในช่วงปี 1986-1993 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการกล่าวขานกันอย่างมาก เพราะนิวซีแลนด์ได้มีการรีเอ็นจิเนียริ่งตัวเองจากประเทศระดับกลางขึ้นมาเป็นประเทศที่มีศักยภาพการแข่งขัน 1 ใน 6 ของโลก
"ในฐานะที่เป็นนักปฏิบัติ เขาได้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อเราหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น ข้อเสนอที่ให้แผนกต่าง ๆ แยกออกจากกันชั่วเวลาหนึ่ง แม้ว่าจะกลายเป็น legal entity ซึ่งอาจจะสร้างปัญหาเรื่องการสูญเสียอำนาจให้เกิดขึ้นได้ก็ตาม การศึกษานี้ใกล้จะเสร็จสิ้นลงแล้ว และเราก็กำลังเริ่มแจ้งให้คนของเราทราบเกี่ยวกับคอนเซปต์นี้ หากงานทั้งการสร้างความมั่นใจให้คน และอำนาจประสบความสำเร็จ เราหวังว่าในเวลาอันสมควร การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญอาจจะทำให้หน่วยงานสำคัญ ๆ ของรัฐบาลไทยปฏิบัติงานตามงบประมาณที่พิจารณาจากผลงาน (output budgetting) แทนที่จะเป็นงบประมาณตามที่ขอเข้าไป (input budgetting) เหมือนที่ทำอยู่ในปัจจุบัน คือ ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของบัญชีกำไรขาดทุนมากกว่าเงินสด"
ในตอนท้ายสุดของการปาฐกถา ม.ร.ว.จัตุมงคล ได้สรุปว่า ประเทศไทยจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง จะต้องทันสมัย และต้องมีศักยภาพในการแข่งขัน มี Incentive ทางเศรษฐกิจให้ต่อภาคเอกชน เช่น อุดหนุนการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ การวิจัย และการพัฒนา รวมถึงการให้ความช่วยเหลือเงินกู้แก่นักศึกษา นอกจากนี้ ยังต้องมีการลดภาษีศุลกากรและปล่อยเสรีบริการทางการเงิน เพื่อผลักดันให้ภาคเอกชนเปลี่ยนแปลงจากการพึ่งพิงแรงงาน และการใช้เทคโนโลยีที่ให้มูลค่าเพิ่มต่ำ เพื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้นจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ก็จะต้องมีรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะให้บริการได้อย่างรวดเร็ว เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพด้วย
ก็ขอฝากความหวังไว้กับผู้นำคนใหม่ ซึ่งจะเป็นผู้ผลักดันให้การรีเอ็นจิเนียริ่งภาครัฐมีความคืบหน้าไม่ถึงกับไล่ไม่ทันกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้




แหล่งที่มาของข้อมูล



วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ประเภทของคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของขนาดเครื่องความเร็วในการประมวลผล และราคาเป็นข้อพิจารณาหลัก โดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภท คอมพิวเตอร์ เป็น 6 ประเภทดังนี้คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (mainframe computer) มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer ) ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) และคอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้



ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้มากกว่า พันล้านคำสั่งต่อวินาที ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศการทดสอบทางอวกาศ และงานอื่น ๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน

คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
(mainframe computer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์
สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน
ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่
ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรม
นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึง ข้อมูลของผู้ใช้จำนวน
มากในเวลาเดียวกันเช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน
การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียน ของนักศึกษา เป็นต้น
มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์ เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์การหลายประเภทนิยมนำ มินิคอมพิวเตอร์มา ใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น

เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุน
การทำงานของคอมพิวเตอร์ เครือข่ายซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน
เช่น แฟ้มข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( เช่น เครื่องพิมพ์และ
อุปกรณ์อื่น ๆ )


ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีผู้นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด ส่งผลให้การพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะและรูปแบบ ที่แตกต่างกัน เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ( desktop computer ) คอมพิวเตอร์พกพา ( portable computer ) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้







คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer ) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น


ความหมายของคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มีความเชื่อกันว่า การมีความรู้เกี่ยวกับ การใช้งานคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลหรือที่รเยกกันโดยทั่วไปว่า personal computer นั้น เป็นความสามารถหรือความชำนาญขั้นพื้นฐานที่จำเป็น ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จ
เนื่องจากปริมาณการใช้คอมพิวเตอร์ และคุณสมบัติของ คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมาก ขึ้นส่งผลให้คนจำนวนมาก เชื่อว่าแต่ละคน จำเป็นต้องมีความรู้พิ้นฐานด้านคอมพิวเตอร์กล่าวคือ รู้วิธีการใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม โลกปัจจุบันซึ่งเป็นโลกของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือที่มักเรียกกันว่า เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร การมีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ เพียงอย่างเดียวนั้นถือว่า ไม่เพียงพอต่อไปแล้ว บุคคลจำเป็นต้องเรียนรู้การบริโภคข้อมูล ข่าวสาร และสามารถวิเคราะห์ข่าวสารที่มีอยู่เป็นจำนวนมากให้เกิด ประโยชน์ได้
ความหมายของคอมพิวเตอร์ นักวิชาการหลายท่านได้กำหนดหรือนิยามความหมายของ คอมพิวเตอร์ไว้หลายความหมาย แต่เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้ว ความหมายของคอมพิวเตอร์จะหมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งมทที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูล ประมวลผล สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูลและแสดงผลลัพธ์ได้

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ในสมัยโบราณมนุษย์ใช้นิ้วมือในการคำนวณ แต่ก็มีข้อจำกัดคือ ตัวเลข มีจำนวนมากขึ้นก็จะไม่สามารถใช้นิ้วมือคำนวณได้ มนุษย์จึงใช้ก้อนหิน ลูกปัด และวัสดุอื่น ๆ มาใช้ในการนับแทนนิ้วมือ เพื่อช่วยให้การคิดเลขสะดวกและถูกต้องยิ่งขึ้น ต่อมาชาวจีนได้คิดประดิษฐ์ลูกคิดขึ้นเพื่อช่วยในการคำนวณ และเบลส ปาสคาล ( Blaise Pascal ) นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ประดิษฐ์เครื่องบวกเลขแบบมีเฟืองหมุนหลักจากนั้น ก็ได้มีการพัฒนาเครื่องคิดเลขจากมือหมุนเป็นระบบไฟฟ้าในที่สุด ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์ เครื่องคำนวณชื่อดิฟเฟอร์เร้นซ์เอนยิน (Difference Engine) ขึ้นซึ่งเครื่องคำนวณนี้สามารถคำนวณค่าฟังก์ชันทาง คณิตศาสตร์ต่อเนื่องกันได้

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีอาคารอัจฉริยะ

เทคโนโลยีอาคารอัจฉริยะ
คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานสำหรับมืออาชีพนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบหลักสองส่วนด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ และซอฟต์แวร์ชั้นดีที่มีความเสถียรภาพ องค์ประกอบทั้งสองอย่างเมื่อรวมกันจะสร้างประสิทธิผลให้กับผู้ใช้งานได้อย่างมากมาย นี่คือนิยามของอาคารสำนักงานอัจฉริยะ The Offices @ Central World อาคารกระจกสูงเด่นเป็นสง่ากลางแยกราชประสงค์ ซึ่งเจ้าของอาคารมีแนวคิดที่จะให้เป็นอาคารสำนักงานอัจฉริยะ หรือ smart office ที่จะมาเชิดหน้าชูตากรุงเทพฯให้ทัดเทียมมหานครชั้นนำอย่างนิวยอร์ก ลอนดอน โตเกียว BPB เรือนตะวัน ของบริษัท ไทยผลิตภัณฑ์ยิบซั่ม จำกัด (มหาชน) แนะนำอาคารอัจฉริยะที่หลายคนอาจยังไม่รู้
การออกแบบอาคาร The Offices @ Central World ได้รับการพัฒนาต่อเนื่องจากโครงสร้างเดิม จึงยังคงผังบริเวณและขอบเขตของอาคารให้เป็นไปตามรูปแบบเดิมที่มีอยู่แล้ว คำว่า อัจฉริยะ ของตึกนี้มาจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย สถาปัตยกรรมที่ผสมผสานเข้ากับสภาพแวดล้อมอย่างลงตัว ซึ่งพยายามทิ้ง open space ไว้เป็น public area ให้มากขึ้น จึงเป็นที่มาของสระน้ำและสวนหย่อมขนาดย่อมหน้าออฟฟิศ
ความอัจฉริยะทางสถาปัตยกรรม ยังเกิดจากการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยอย่างมีประสิทธิภาพด้วยโครงสร้างภายในแบบ central core คือแทนที่จะนำเสามาไว้ตรงกลาง ก็เปลี่ยนเป็นเนื้อที่ของส่วนบริการอาคารทั้งหมด เช่น ลิฟต์โดยสารและขนของ ห้องเครื่อง ห้องน้ำ และสิ่ง จำเป็นอื่นๆ จึงมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น บริเวณโถง lobby atrium ด้านหน้าได้ออกแบบให้มีความสูงเท่าตึก 5 ชั้น สามารถมองเห็นทัศนียภาพได้ทั้งจากภายในและภายนอก จึงช่วยเชื่อมต่อบรรยากาศของพื้นที่ภายในกับภายนอก ให้เข้ากันได้
ด้านเทคโนโลยีอาคารนี้ติดตั้งระบบลิฟต์ทันสมัยล่าสุดที่มีความเร็วสูงมาใช้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ความอัจฉริยะของลิฟต์จะช่วยบริหารเวลาการใช้ลิฟต์ในชั่วโมงเร่งด่วนอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความปลอดภัยด้วยระบบ access card ที่ช่วยแจ้งตำแหน่งของลิฟต์ที่จะไปยังชั้นเป้าหมายโดยไม่ต้องแวะไปยังชั้นอื่น ความอัจฉริยะของระบบลิฟต์นี้จะช่วยประหยัดพลังงานและประหยัดเวลา เพราะมันเป็นการ grouping คนที่มีปลายทางเดียวกันไปด้วยกัน
อาคารนี้ได้จัดให้บริเวณของห้องทำงานก็ติดกับกระจก ทำให้ประหยัดพลังงานเพราะได้รับแสงสว่างจากธรรมชาติ และยังทำให้ผู้ใช้งานได้มองเห็นวิวภายนอกอีกด้วย นอกจากนี้ยังแก้ปัญหาของระบบปรับอากาศที่มักมีปัญหาในอาคารสูงในเมืองไทยที่มักจะมีอุณหภูมิไม่เท่ากัน ด้วยระบบเทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศที่ช่วยถ่ายเทอากาศภายในอาคาร และปรับอุณหภูมิภายในให้เหมาะสมกับสภาพอากาศภายนอก
นอกจากนี้อาคารจอดรถ 3 ชั้นของ The Offices @ Central World ซึ่งถูกออกแบบมาเป็นพิเศษจะสามารถรองรับรถได้กว่า 7,000 คัน และรองรับปริมาณรถหมุนเวียนรถเข้าออกได้ถึง 35,000 คันต่อวัน

สรูป การพิจารณาการตัดสินใจนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้

การตัดสินใจนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้: ระบบงานสำนักงานอัตโนมัติเป็นงานที่ต้องใช้ผู้เชี่ยว ชาญ เฉพาะด้านเป็นผู้จัดระบบดังนั้นก่อนจะสร้างระบบสำนักงานอัตโนมัติคงต้องเป็นหน้าที่ของบุคคลเหล่านี้คือ

  1. ผู้ขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  2. ทีมงานเฉพาะกิจของบริษัท
  3. ที่ปรึกษา
  4. ทีมงานเฉพาะกิจร่วมกับที่ปรึกษา

ปัจัยที่ต้องพิจารณาก่อนการเปี่ยลนแปลงระบบสํานักงานมีดังนี้ 1.การจัดการเอกสารในสํานักงาน พิจารณาถึงข้อมูลต่างๆ ดังนี้ (1.1)ปริมารงานที่พิมพ์มากน้อยเพียงใด(1.2)เวลาที่ใช้ในการพิมพ์เอกสาร(1.3)ปริมารเอกสารมีมากน้อนเพียงใด(1.4)ปริมารเอกสารที่ผิดพาด(1.5)ระดับคุณภาพและความสวยงามของการพิมพ์(1.6)ปริมาณงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ใช้ได้มากแค่ไหน(1.7)จํานวนพนักงานที่ผลิดเอกสารและค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน(1.8)จํานวนการสึกสึกหรอที่ใช้เกี่ยวกับอุปกรณ์และเอกสาร 2.การวิเคราะห์ระบบสํานักงานทั้งระบบ การวิเคราะห์ระบบสํานักงานจะพิจารณาสิ่งต่อไปนี้ (1.1)พิจารณาโครงสร้างของระบบสํานักงาน(1.2)พิจารณาผังของสํานักงาน(1.3)พิจารณาหน้าที่ของอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน(1.4)พิจารณาลักษณะของแบบฟอณ์มที่ใช้วิเคราะฆื(1.5)พิจารณาหน้าที่ของงาน เมื่อทำการวิเคราะห์ระบบสำนักงานตามรายละเอียดข้างต้นแล้วก็คงได้ข้อมูลมากเพียงพอที่จะมาประกอบการตัดสินใจได้ผิดพาดให้น้อยที่สุด ควรใช้ปัดใจภายนอกด้วย เช่น การศึกษา การใช้อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ชนิดหรือยี่ห้อราคาของเครื่องมือคุมกับการลงทุนหรือไม่ คู่แข่งใช้อุปกรณ์ชนิดใดบ้าง แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และโอโกสของการขยายตัวของธุรกิจตลอดจนความพร้อมของบุคลากรในสําน้กงานที่จะมีผลใงนในสํานักงานอัตโนมัติที่จัดหามา สามารถใช้งานได้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพที่สุด